กลายเป็นที่ฮือฮาในโลกออนไลน์ญี่ปุ่น เมื่อจริงๆ แล้ว พื้นที่แต่ละประเทศเมื่อไม่ได้เขียนจากการโปรเจคไปบนพื้นที่โลกกลมๆ หรือที่เรียกว่า Mercator projection แล้วนั้น ขนาดเปลี่ยนไป เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ (Mercator projection) คือการแสดงแผนที่ลูกโลกบนพื้นผิวสัมผัสทรงกระบอก ซึ่งได้รับการนำเสนอในปี ค.ศ. 1569 โดยเกราร์ดุส แมร์กาตอร์ นักภูมิศาสตร์และนักทำแผนที่ชาวเฟลมิช
เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์มีคุณสมบัติในการรักษาทิศทาง จึงสามารถแสดงเส้นทิศทางที่แน่นอนใด ๆ ให้เป็นเส้นตรงลงบนแผนที่ เท่ากับเป็นการรักษาค่าของมุมที่ทำกับเส้นเมริเดียน อีกทั้งยังรักษารูปร่างของวัตถุบนแผนที่ให้มีลักษณะรูปร่างคงเดิม นอกจากนี้เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ยังมีคุณสมบัติในการรักษาอัตราส่วนของระยะทางในทุกทิศทางจากจุดใดจุดหนึ่งให้มีค่าเท่ากันตลอดทั้งแผนที่ ซึ่งการรักษาคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการใช้งานสำหรับการเดินเรือในทะเล
การแสดงแผนที่แบบนี้จะมีการขยายขนาดของวัตถุเกิดขึ้น เมื่อละติจูดมีค่าสูงขึ้นนับจากจากเส้นศูนย์สูตรไปยังขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้ ยกตัวอย่างเช่น กรีนแลนด์และแอนตาร์กติก เมื่อแสดงลงบนแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์จะมีขนาดใหญ่กว่าในความเป็นจริงเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับแผ่นพื้นทวีปที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร หรืออะแลสกาเมื่อปรากฏบนแผนทื่จะมีขนาดเท่าประเทศบราซิล ซึ่งในความเป็นจริง บราซิลมีขนาดใหญ่กว่าอะแลสกาถึง 5 เท่า (ถีงแม้จะถูกขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น แต่ลักษณะรูปร่างยังคงเดิม) เป็นต้น
ต้องดูในแผนที่ Gall-Petters ขนาดใกล้เคียงจริง[ads]
ต้องแผนที่แบบนี้
ในหลักการเขียนแผนที่แบนก็จะบอกไว้ หรือ ไม่ค่อยทราบกัน
หลายคนก็คงจะพึ่งทราบกันใช่ไหมคะ พื้นที่แต่ละประเทศเมื่อไม่ได้เขียนจากการโปรเจคไปบนพื้นที่โลกกลมๆ หรือที่เรียกว่า Mercator projection แล้วนั้น ขนาดเปลี่ยนไป เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ (Mercator projection) คือการแสดงแผนที่ลูกโลกบนพื้นผิวสัมผัสทรงกระบอก ซึ่งได้รับการนำเสนอในปี ค.ศ. 1569 ซึ่งมองแล้วก็เปลี่ยนไปมากจริงๆจ้า
ขอขอบคุณที่มาจาก: engaging , ครบเครื่องเรื่องญี่ปุ่น