เพราะชื่อที่คล้ายกัน ลักษณะข้าวก็คล้ายกัน ไม่ใช่เรื่องแปลกที่บางคนจะเข้าใจว่า “ข้าวหอม” และ “ข้าวหอมมะลิ” คือข้าวชนิดเดียวกัน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ ซึ่งเรื่องนี้หลายคนก็สงสัยเช่นกัน ล่าสุดอผู้ใช้เฟสบุ๊ครายหนึ่งสอบถามว่า พี่ๆครับ "ข้าวขาวหอมมะลิ" กับ "ข้าวหอมมะลิ" แตกต่างกันยังไงครับ
ข้าวขาวหอม คือข้าวขาวทั่วไป “ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิ” เพียงแต่ว่ามีกลิ่นหอมใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิ ซึ่งส่วนใหญ่ข้าวหอมจะหมายถึงข้าวหอมปทุม แม้กลิ่นจะใกล้เคียงกัน แต่ความนุ่มน้อยกว่า เมื่อวางข้าวที่หุงแล้วทิ้งไว้สักพัก ข้าวจะไม่นุ่มเท่าตอนหุงใหม่ๆ ต่างจากข้าวหอมมะลิที่ยังคงความนุ่มไว้ได้
อีกข้อหนึ่งที่แตกต่าง คือข้าวขาวหอมสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ละรอบก็ให้ผลผลิตเยอะ หากน้ำท่าอุดมสมบูรณ์อาจได้ผลผลิตถึง 3 รอบต่อปี ส่วนข้าวหอมมะลิปลูกได้ปีละครั้ง และให้ผลผลิตน้อยกว่า
นี่คือความแตกต่างของ “ข้าวขาวหอม” และ “ข้าวหอมมะลิ” นะคะ แม้คนส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานข้าวหอมมะลิ บ้างก็ว่าข้าวหอมมะลิอร่อยที่สุด แต่ข้าวไทยทุกชนิดมีเอกลักษณ์ความอร่อยแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ เชิญทุกท่านเลือกลิ้มลองได้ตามความชอบเลยค่า #ข้าวธรรม มีให้เลือกสรรทั้งข้าวหอม ข้าวหอมมะลิ รวมทั้งข้าวพันธุ์อื่น ๆ อีกมากมาย
ความคิดเห็นจากชาวเน็ต
มีความแตกต่าง
ความนิ่มต่างกัน
สำหรับข้าวหอมมะลิไทยนั้น จะแบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่ ข้าวเปลือก (ข้าวที่ยังไม่ผ่านการกะเทาะเอาเปลือกออก), ข้าวกล้อง (ข้าวที่ผ่านการกะเทาะเปลือกออกอย่างเดียว) และข้าวขาว (ข้าวที่นำไปขัดเอารำออกแล้ว) ข้าวหอมมะลินั้นจะมีลักษะเมล็ดเรียวยาว มีสัมผัสที่นุ่มนวล และเหนียวเล็กน้อย โดยคุณสมบัติหลักของข้าวหอมมะลิคือ “หอมและนุ่ม
ขอขอบคุณที่มาจาก: M Aittigon Mensuwan