ค้ำประกันรถยนต์ ให้คนอื่น แต่อยากถอนค้ำประกัน ทำได้หรือไม่

            การค้ำประกัน หมายถึงการประกันการชำระหนี้แทนบุคคล เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง  ระหว่างบุคคลที่ไม่ใช่ลูกหนี้กับเจ้าหนี้ โดยมีเงื่อนไขคือ หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันจะเป็นผู้รับภาระหนี้แทน เป็นการรับประกันว่าอย่างไรเสีย เจ้าหนี้ก็จะได้รับเงินคืนแน่นอน รูปแบบการค้ำประกันเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ค้ำประกันหลายคนละเลยที่จะศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนลงนามในสัญญา เมื่อลูกหนี้ผิดสัญญากู้ยืมเงิน จึงทำให้ภาระหนี้มาตกอยู่กับผู้ค้ำประกัน ก่อนการค้ำประกันจึงควรพิจารณาให้รอบคอบว่าถ้าลูกหนี้ผิดสัญญา ตัวเองจะมีความสามารถในการรับชำระหนี้แทนหรือไม่ 

          ล่าสุดมีสมาชิกท่านหนึ่งได้สอบถามเกี่ยวกับ การที่จะถอนตัวออกจากคนค้ำ โดยเธอบอกว่า พอดีเลิกกับสามีแล้ว ถ้าเราอยากเอาชื่ออกจากคนค้ำรถยนต์สามารถทำได้ไหมคะ

            ต่อมามีสามาชิกหลายท่านเข้ามาแสดงความคิดเห็นเช่น ขอตอบคำถามรวมๆ เฉพาะข้อกฎหมายนะกฎหมายค้ำประกัน ไม่ให้สิทธิคุณบอกเลิกสัญญาค้ำประกันได้เองโดยทันที .. แม้คุณจะมีหนังสือถอนหรือบอกเลิกสัญญาไปยัง บ.รถ และ เพื่อนคุณ ก้อไม่อาจทำให้สัญญาค้ำประกันเลิกกันไปนะ

            การบอกเลิก ถอน หรือยกเลิกสัญญาค้ำประกัน คุณต้องไปเจรจาตกลงกับ บ.รถ ว่าเขาจะยอมตกลงกับคุณด้วยหรือไม่ซึ่งในทางปฏิบัติ บ.รถเขาจะไม่ยอมเลิกสัญญา ทันที แต่เขาจะมีหนังสือหรือแจ้งให้ เพื่อนคุณ ดำเนินการหาคนค้ำประกันคนใหม่ก่อน เพื่อเป็นการร่วมรับผิดในหนี้สินที่อาจเกิดมี ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ จากนั้น บ.รถ เขาจะตกลงเลิกสัญญาค้ำประกันกับคุณต่อไป .. แต่หากเพื่อนคุณไม่สามารถหาคนมาค้ำประกันได้ บ.รถ เขาจะไม่ยอมเลิกสัญญาค้ำประกันนะ

            คุณไม่อาจฟ้องร้องให้เลิกสัญญาค้ำประกันได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิคุณฟ้อง เว้นแต่คุณจะชำระหนี้เงิน ทั้งหมดเอง ซึ่งจะถือว่า สัญญาหลัก (สัญญาเช่าซื้อ) สิ้นสุดลง

            ซึ่งเหตุที่เพื่อนคุณยังไม่ได้แจ้งเลิกสัญญาค้ำประกัน คิดว่าน่าจะเป็นเพราะ บ.รถ เขาไม่ตกลงด้วย  ซึ่ง บ.รถ เขามีสิทธิตามกฎหมายที่จะไม่ตกลงเลิกสัญญาค้ำประกันทันที ตามที่กล่าวมาข้างต้น

            คำตอบสำหรับเรื่องนี้คือ ผู้ค้ำประกันสามารถถอนตัวออกจากการเป็นบุคคลผู้ค้ำประกันได้ เเต่มีข้อเเม้ว่า ผู้กู้จะต้องมีคนค้ำประกันคนใหม่มาเปลี่ยนแทนผู้ค้ำคนเก่าเรื่องนี้ ขึ้นอยู่กับบริษัทไฟแนนซ์จะยินยอมหรือไม่ถ้าหาผู้ค้ำที่น่าเชื่อถือได้ บริษัทไฟแนนซ์จะยินยอมให้เปลี่ยนผู้ค้ำแต่การเปลี่ยนสัญญาจะมีค่าใช้จ่ายตามระเบียบของบริษัทไฟแนนซ์สำหรับค่างวดที่ผิดนัดก็ต้องชำระให้เรียบร้อย แต่หากยังไม่มีู้ใดมาเเทน ผู้ค้ำคนเก่าไม่สามารถถอนการเป็นผู้ค้ำประกันได้ เเละหากผู้กู้เกิดการผิดนัดชำระจ่ายค่างวดเกินกว่าที่ไฟแนนซ์กำหนด ผู้ค้ำก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหนี้ของผู้กู้ตามเดิม

          ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ระบุว่าตัวผู้ค้ำประกันย่อมต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อผิดนัดไม่ชำระหนี้นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 680  ดังนั้น เมื่อมีหนี้ประธานระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้แล้ว  เจ้าหนี้มักจะให้ลูกหนี้หาผู้ค้ำประกันมาทำสัญญาค้ำประกันหนี้ประธานไว้ด้วย  ก็เพื่อเป็นการเพิ่มลูกหนี้เข้ามาเป็นผู้รับผิดตามมูลหนี้ประธานเข้ามาอีก  เพื่อเพิ่มโอกาสของเจ้าหนี้ในการที่จะให้ได้รับชำระหนี้นั้นสูงขึ้น

            ตามกฎหมายแล้วผู้ค้ำประกันย่อมเป็นลูกหนี้ชั้นที่ 2  ในอันที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ เมื่อลูกหนี้ผิดชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686  เจ้าหนี้โดยส่วนมากจะไม่ยอมยกเลิกสัญญาค้ำประกันปลดหนี้ให้แก่ผู้ค้ำประกันไปง่าย ๆ  เพราะจะเป็นการทำให้โอกาสที่เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ลดน้อยถอยลงโดยการเรียกเอาชำระหนี้แก่ลูกหนี้ชั้นต้นได้แต่เพียงผู้เดียว  เจ้าหนี้จึงมักไม่ดำเนินการยกเลิกสัญญาค้ำประกันจึงยังไม่เกิดขึ้น  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686  ท่านก็ย่อมสามารถที่จะทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงินของตนเองได้ ไม่มีบทบัญญัติห้ามท่านไว้แต่ประการใด[ads]

          ขั้นตอนในกรณีที่ผู้ค้ำประกันประสงค์ที่จะยกเลิกการเป็นผู้ประกันตามสัญญาค้ำประกัน สามารถติดต่อกับไฟแนนซ์ที่เป็นคู่สัญญากับท่านโดยตรง ฉะนั้นหากไม่อยากยุ่งยากในการดำเนินการเปลี่ยนตัวผู้ค้ำประกัน ก่อนจะค้ำประกันให้ใคร ควรพิจารณาให้ดีว่าคนที่คุณจะค้ำประกันให้มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือได้หรือไม่ อย่าค้ำประกันให้ใครด้วยความเกรงใจ เพราะผลลัพธ์ที่ออกมาจะส่งผลเสียให้กับผู้ค้ำเอง

                 เงื่อนไขแต่ละบริษัทอาจจะไม่เหมือนกันฉะนั้นแล้วรีบไปสอบถามไฟแนนซ์เลยค่ะ และทั้งนี้ฝากให้ท่านไตร่ตรอง ก่อนที่จะ “เซ็นค้ำประกันสัญญา” ใดๆ ให้กับผู้อื่น จึงควรที่จะคิดให้ดีก่อนตัดสินใจ ควรทำความเข้าใจถึงสิทธิ์ และผลผูกพันในการเซ็นสัญญาค้ำประกันให้กับผู้อื่น

ขอขอบคุณที่มาจาก: Supranee Singthum Look'kloy