หลังจากที่เป็นประเด็นถกเถียงกันในโลกออนไลน์เกี่ยวกับการฝึกงาน ของนักศึกษา ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นนักศึกษาก็ควรได้รับเงินในช่วงที่ฝึกงาน เพราะต้องลงทุนลงแรง เข้างานเหมือนกันกับพนักงานทั่วไป ล่าสุดเพจ ทนายตัวแสบ:Badass Attorney ได้มาพูดถึงข้อกฏหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า
อันนี้หนูๆน้องๆ น่าจะตีความผิด-วิชาฝึกงานตามแต่ละหลักสูตรก็ต่างกันไป บางคณะก็ไม่บังคับ
-จุดประสงค์คือให้นักศึกษาได้ลองลงภาคสนามและเรียนรู้หน้างานจริง ซึ่งอาจแค่ผิวๆแหละ เพราะมาฝึกงาน จะให้โยนโปรเจคพันล้านให้ทำเลยก็คงไม่ใช่
-อ่ะแน่นอน ถ้าบริษัทดีๆ เขาก็จะสอนเนื้องาน กับขั้นตอนให้ทราบ น้องจะได้มีอะไรติดตัวตอนไปหางานทำ
-ถ้าเด็กบางคนมีของบริษัทนั้นก็ทาบทามจ้างต่อก็มี
-บางที่พี่เขาใจดีก็รวมเงินส่วนตัวให้น้องเป็นขวัญถุงตอนจะกลับมหาวิทยาลัยก็มีครับ
แต่ “น้องไม่ได้มีสถานะเป็นลูกจ้าง ที่นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง”แนะนำไปดูกฎหมายคุ้มครองแรงงานครับต่อไปคือเรื่องเข้าใจผิดในโพสต์ มีน้องคนนึงมาตอบว่ากฎหมายให้จ่าย ค่าจ้างให้เด็กฝึกงานแต่พวกบริษัทไม่ยอมจ่าย อันนี้ผิดนะครับ ไม่รู้ไปอ่านกฎหมายฉบับไหนมาหรือไปสับสนกับพวก งานพาร์ทไทม์ที่มีสัญญาจ้างจริงจังและกำหนดอัตราการจ่ายเงินกัน
บางบริษัทมีโครงการรับเด็กฝึกงานนอกเหนือจาก ที่มหาลัยส่งมา อันนี้ต้องบอกก่อน บางที่ให้ค่าแรง บางที่ไม่ให้ อยู่ในเงื่อนไขที่ต้องไปคุยกับเขาเอง เห็นน้องรีทวิตกันไปเยอะเอาจริงก็ตกใจนิดหน่อยแต่ไม่แปลกใจอะไรมาก อันนี้ถือว่าแก้ความเข้าใจผิดเฉยๆนะครับ
เพิ่มเติมให้ครับ ในไทยมีสหกิจศึกษา ซึ่งอันนี้จะเป็นความร่วมมือกับองค์กร บริษัทต่างๆ อันนี้นักศึกษามีสิทได้ค่าแรงครับ คิดว่าน้องอาจไปอ่านเจออันนี้มาแต่ การฝึกงานตามรายวิชาและเก็บหน่วยกิต ยังไม่มีกฎหมายใดหรือระเบียบบังคับให้ต้องจ่ายครับ
ความคิดเห็นจากชาวเน็ต
ต่างประเทศฝึกงานแล้วได้เงิน
ควรยกเลิกการฝึกงาน[ads]
ไม่ทำก็ไม่จบ
น้องๆน่าจะตีความผิด
สรุปคือ ในไทยมีสหกิจศึกษา ซึ่งอันนี้จะเป็นความร่วมมือกับองค์กร บริษัทต่างๆ อันนี้นักศึกษามีสิทได้ค่าแรงค่ะ คิดว่าน้องอาจไปอ่านเจออันนี้มาแต่ การฝึกงานตามรายวิชาและเก็บหน่วยกิต ยังไม่มีกฎหมายใดหรือระเบียบบังคับให้ต้องจ่าย
ขอขอบคุณที่มาจาก: ทนายตัวแสบ:Badass Attorney