สินค้าจีน คือสินค้ายอดนิยมที่ผู้ประกอบการไทยนิยมนำเข้าเพื่อมาขายในไทย เพราะสินค้าที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “made in china” มักมีราคาถูก ซึ่งทำให้สามารถสร้างรายได้และกำไรได้มากขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า แม้ราคาจะถูก แต่ก็มี “ภาษี” ที่ต้องจ่ายเช่นเดียวกัน โดยสำหรับการนำเข้าสินค้าจีนมีด้วยกัน 4 ภาษี ได้แก่
1. ภาษีอากรนำเข้า ภาษีเงินได้ที่เป็นรายได้หลักของประเทศที่กฎหมายกำหนดให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดเก็บการนำเข้าสินค้าจากจีนหรือส่งออกสินค้าสู่ต่างประเทศ โดยจะมีการจัดเก็บก็ต่อเมื่อมีการนำของเข้าในไทยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เช่น
– หากเป็นการถือเข้ามาเป็นของติดตัวขณะเดินทางเข้าประเทศ ของนั้นต้องมีมูลค่าเกินกว่า 20,000 บาท
– หากเป็นสินค้าที่นำเข้าผ่านบริษัทชิปปิ้ง สินค้านั้น ๆ จะต้องมีมูลค่าที่รวมค่าประกันภัยและค่าขนส่งเกิน 1,500 บาท (หากต่ำกว่า 1,500 บาท จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีอากรนำเข้า)
และอีกกรณีที่สำหรับคนที่นำเข้าสินค้าจากจีนหรือส่งออกสินค้าเป็นประจำ และมีการจ่ายภาษีล่วงหน้า หากขำระเงินเกินสามารถขอคืนภาษีได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่หากชำระขาด กรมศุลกากรก็จะทำการเรียกเก็บภาษีย้อนหลังในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ แม้จะจ่ายภาษีถูกต้องและครบถ้วน ก็ควรจัดเก็บเอกสารการนำเข้าสินค้าจากจีนไว้อย่างน้อย 5 ปี หากเลิกกิจการก็ต้องเก็บไว้อีก 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เลิกกิจการ เพื่อเตรียมไว้สำหรับกรมศุลกากรเรียกตรวจภาษีย้อนหลัง หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีบทลงโทษ ทั้งทางแพ่งและทางอาญา
2. ภาษีสรรพสามิต ภาษีที่เรียกเก็บเฉพาะกลุ่มสินค้าที่มีเหตุผลที่จำเป็นต้องเสียภาษีเยอะกว่าสินค้ากลุ่มอื่น ไม่ว่าจะเป็น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ สินค้าฟุ่มเฟือย สินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เครื่องดื่ม, เครื่องใช้ไฟฟ้า (เฉพาะเครื่องปรับอากาศและโคมระย้าที่ทำจากแก้วเลดคริสตัลและแก้วคริสตัลอื่นๆ) น้ำมัน, รถยนต์, เรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ, น้ำหอม, พรมและเครื่องถักทอที่ทำมาจากขนสัตว์, สุรา ยาสูบ และไพ่ เป็นต้น
โดยกรมสรรพสามิตจะเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีดังกล่าว เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลนำไปบริหารประเทศ ทำนุบำรุงท้องถิ่นต่าง ๆ
3. ภาษีเพื่อมหาดไทย ภาษีเพื่อมหาดไทย จะต้องมีการจ่ายก็ต่อเมื่อต้อง “เสียภาษีสรรพาสามิต” ซึ่งสินค้าที่ต้องชำระภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทย เช่น น้ำหอม สุรา ยาสูบ ไพ่ แบตเตอรี่ เป็นต้น
4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นภาษีที่เรียกเก็บทั้งการนำเข้าสินค้าจากจีนและการจำหน่ายสินค้าภายในประเทศ เพราะเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิตสินค้าหรือบริการ โดยปัจจุบันมีการเรียกเก็บอยู่ที่ 7% ซึ่งจะมีการเรียกเก็บเช่นเดียวกับภาษีอากรขาเขา คือ จัดเก็บก็ต่อเมื่อมีการนำเข้าสินค้าเข้ามาภายในประเทศเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
ทั้งนี้ การนำเข้าสินค้าจากจีนในปัจจุบันได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าต่ำสุดที่ 0% หากผู้นำเข้ามี “From E” หรือ หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า โดยสามารถแจ้งกับทางชิปปิ้งที่เป็นผู้ดำเนินการในการเสียภาษีให้เขาออกหนังสือฉบับนี้ให้ก็ได้ หรือจะลองศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีทางอื่นก็สามารถทำได้
อย่างไรก็ตาม แม้ในปัจจุบัน การนำเข้าสินค้าจากจีนจะสามารถดำเนินการได้ง่ายขึ้น แต่ผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้าสินค้าจากจีนจริง ๆ ก็ควรศึกษาข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าจากจีนอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็น ตัวสินค้า การขนส่ง ภาษี รวมถึงค่าใช้จ่ายในด้านอื่น ๆ เพื่อให้การทำธุรกิจนำเข้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ขอขอบคุณที่มาจาก: อายุน้อยร้อยล้าน