ดราม่า กระทรวงวัฒนธรรม ทำคลิปสั้น คะ ค่ะ ยังใช้ไม่ถูก

           คะ ค่ะ  ต้องบอกว่าเป็นคำที่ใช้ผิดบ่อยมากที่สุด บางทีอ่านแล้วขัดตา แถมยังรู้สึกว่าความหมายเปลี่ยนไปเลย ล่าสุดก็กลายเป็นประเด็นดราม่ากับคำนี้ เมื่อกระทรวงวัฒนธรรม ได้ทำคลิปสั้น ในหัวข้อเรื่อง สิบบาทของครู แต่งานนี้คนดูก็ตาดี เห็นคำผิด คะ ค่ะ จนทำให้หลายคนมองว่า หน่วยงานขนาดนี้ ยังเขียนผิด โดยเพจ คุณคะ "นะคะ" ไม่ต้องมีไม้เอกค่ะ

หอหมกไหมค่ะ  (คะ) 

ครูใหญ่ค่ะ (คะ)

เหรอค่ะ เหรอคะ

ความคิดเห้็นจากชาวเน็ต

อยากหยิกมือคนทำซับ

ดูแล้วปวดหัว


แก้ไขแล้วเรียบร้อย

          มาดูวิธีการใช้กันค่ะ คำว่า "คะ" ใช้กับประโยคที่ต้องการแสดงเสียงสูง อาจเป็นประโยคคำถามหรือเรียกด้วยความสุภาพ เช่น ไปไหนกันคะ ดูได้ไหมคะ คุณคะเชิญทางนี้ เป็นต้น

           ส่วนคำว่า "ค่ะ" (ออกเสียง ขะ) ใช้กับประโยคที่ต้องการเสียงต่ำ อย่างประโยคบอกเล่า ตอบรับ ตอบคำถาม เช่น สวัสดีค่ะ ขอบคุณค่ะ รักค่ะ เกลียดค่ะ เชิญค่ะ จบค่ะ

          และสุดท้าย คำว่า “นะคะ” จะใช้กับประโยคบอกเล่า หรือตอบรับเช่นกัน เช่น ขอบคุณมากนะคะ คิดถึงนะคะ เดินทางปลอดภัยนะคะ อันนี้บอกเลยว่า มีแต่ “นะคะ” คำว่า “นะค่ะ” ไม่มีค่ะ

         หลายคนคงสงสัยว่า คำว่า คะ ค่ะ นะคะ เขียนอย่างไรถึงถูกต้องกันแน่ บางคนเขียน "ค๊ะ" ใส่ไม้ตรีก็มี ซึ่งใครที่สงสัยเรื่องนี้ ต้องย้อนกลับไปดูหลักภาษาไทยพื้นฐานนะคะ ไปดูที่เรื่องของ "อักษรสูง-อักษรต่ำ" และ "คำเป็น-คำตาย" รวมไปถึงการผันวรรณยุกต์ ตามปกติแล้วเราผันวรรณยุกต์ 5 เสียงกันจนชิน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า เพราะตัว "ก" ที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นอักษรกลาง และเป็นคำเป็น เราเลยผันได้ 5 เสียงเต็มๆ แต่สำหรับ "ค" นั้น ตามหลักภาษาจัดให้เป็น "อักษรต่ำ" และถ้ามาผสมสระอะ เป็นคำว่า "คะ" ซึ่งนั่นเราถือว่าเป็น "คำตาย" เนื่องจากมีสระเสียงสั้น เมื่อเป็นแบบนี้ เท่ากับว่า คำว่า "คะ" เป็นอักษรต่ำด้วย และเป็นคำตายด้วย การผันวรรณยุกต์จึงผันได้เพียงแค่ 2 เสียงเท่านั้น คือ "ค่ะ" (เสียงเอก) กับ "คะ" (เสียงตรี) ดังนั้น ถ้าเห็นที่ไหนเขียน "ค๊ะ" หรือ "นะค๊ะ" เติมไม้ตรีละก็ อันนี้ผิดแน่นอนค่ะ เพราะอักษรต่ำอย่าง "ค" จะผันด้วยไม้ตรีไม่ได้โดยเด็ดขาด อันนี้จำไว้เลยนะคะ

ขอขอบคุณที่มาจาก: คุณคะ "นะคะ" ไม่ต้องมีไม้เอกค่ะ