คุณ มาม่ากับปลากระป๋อง ได้ออกมาโพสต์เล่าถึงเรื่องการขายเสาวรสจากสวน ที่เอามาจากสวนเดียวกันแต่ขายในราคาต่างกัน เพราะสถานที่จำหน่าย และกำลังซื้อของคนในแต่ละที่ โดยจากโพสต์นั้นได้ระบุรายละเอียดว่า 'ขายสินค้ากำไรเท่าตัว ทำอย่างไร!?!'
"กำไรเท่าตัว" ใช้ประโยคนี้น่าจะ "ผิดความหมาย" ไปครับ เพราะ กระทู้นี้ไม่ได้ลงเรื่องต้นทุน เล่าแค่ด้านเดียวคือราคาขาย ดังนั้นเรียกกำไรน่าจะไม่ถูกต้องนักครับ ควรใช้คำอื่นมากกว่า น้อมรับความผิดพลาดครับ(หัวกระทู้แก้ไม่ได้แล้ว) ขอบคุณเพื่อนๆสมาชิกที่ชี้แจงเพิ่มเติมเข้ามาครับบบบบบบบบบ ขอบคุณครับ
ครอบครัวผมพื้นฐานทำการเกษตรครับ จึงเห็นผมเล่าเรื่องการเกษตรอยู่บ้างเนืองๆ เพราะ ตอนนี้ญาติๆบางส่วนก็ยังทำอยู่ครับ วันนี้จึงขอเล่าเรื่องเกี่ยวกับเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร
กระทู้นี้ขอเดินเรื่องว่าด้วย "ลูกเสาวรส" ครับ … ตาผมขายเสาวรสหน้าไร่อยู่กิโลกรัมละ 25 บาท …น้องสาวรับของตาไปขายทำราคาขายได้ที่กิโลกรัมละ 30 บาท … ภรรยาผมทำราคาขายได้ที่ราคากิโลกรัมละ 40 บาท … แต่พี่สาวผม สามารถทำราคาขายได้ที่กิโลกรัมละ 50 บาท และที่สำคัญพี่สาวผมออร์เดอร์เยอะที่สุดใน 3 แม่ค้าเลย!!! … ลูกเสาวรสสวนเดียวกันแต่ทำไม 3 คนนี้ถึงขายได้ในราคาที่ต่างกันขนาดนี้? ทำไมน้อ?
ผมแยกออกเป็น 3 ประเด็นดังนี้ครับ
1. สถานที่ขาย
สถานที่ขายของน้องสาวผม : หน่วยงานราชการท้องถิ่น
สถานที่ขายของภรรยาผม : ภรรยาผมไปฝากแม่ขาย แม่ยายผมเป็ดร้านขายของอยู่ในตลาดสด
สถานที่ขายของพี่สาวผม : โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง
สถานที่ขายก็บอกเรื่องราวได้พอสมควรแล้วครับ ถึงกลุ่มลูกค้าที่แต่ละคนจับ … น้องสาวผมไม่ค่อยมีออร์เดอร์เพราะที่ทำงานไม่ค่อยนิยมเท่าไหร่ … ภรรยาผมไปฝากแม่ขายซึ่งท่านมีหน้าร้านอยู่ในตลาดสดอยู่แล้วฐานลูกค้าและกลุ่มลูกค้าที่มาเดินตลาดจะหลากหลายกว่า … พี่สาวผมจำหน่ายอยู่ในแหล่งที่เรียกว่า “คนรักสุขภาพ” รวมตัวกันอยู่เลยก็ว่าได้ และแน่นอนว่ามีกำลังซื้อ
2. บรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์ของน้องสาวผม : ถุง Re-Use อะไรก็ได้ที่มี
บรรจุภัณฑ์ของภรรยาผม : ถุงใสแพคตามสมควร
บรรจุภัณฑ์ของพี่สาวผม : ถุงใสแพคดี และ มีแบรนด์
เห็นภาพมั้ยครับว่า “แพคเกจจิ้ง” หรือ บรรจุภัณฑ์ ที่ลูกค้าจะได้รับก็พอจะเดาระดับราคาได้แล้ว
3. เรื่องราว
การที่จะขายของให้ได้ราคาถึงขีดสุดจำต้องมีเรื่องราว ต้องมีสิ่งที่เป็นจุดขาย ในบรรดาแม่ค้า 3 คนนี้มีคนเดียวที่ใส่เรื่องราวเข้าไปในการขายได้ คือ พี่สาวผม … เริ่มจากสรรพคุณของเสาวรสสดๆกันก่อนมีอะไรก็ไล่ไป ปิดการขายด้วย สโลแกนเด็กเด็ดๆ “เก็บสดๆจากสวน” และ “เสาวรสปลอดสารเคมีการันตรีจากไร่ของตัวเอง” … เรื่องราวถูกส่งตรงไปถึงลูกค้าที่มีกำลังซื้อในโรงพยาบาล
4. รสชาติ
แถมให้อีกประเด็น เรื่องของการซื้อซ้ำ ลูกเสาวรสที่ไร่ของตา ไม่ได้ออกทั้งปี จะมีเป็นช่วงๆ ดังนั้นสิ่งที่น่าสนใจต่อคือการซื้อซ้ำของลูกค้า … การที่ลูกค้าจะติดใจในสินค้าได้ อย่างแรกที่ต้องมีคือรสชาติ … รสชาติต้องถูกปากลูกค้าในระดับหนึ่ง ซึ่งนี่ก็เป็นเคล็ดลับเหมือนกันที่คุณตาผมไปเลือกต้นเลือกพันธุ์ที่จะมาปลูกอย่างพิถีพิถัน
ต่อไปถ้าผลผลิตมีมากค่อยมาพิจารณาเรื่องการต่อยอดชนิดอื่น เช่น การแปรรูปในแบบต่างๆ ฯลฯ
เล่าสู่กันฟังครับ เรื่องแนวทางการเพิ่มมูลค่าสินค้า ลองนำแนวคิดการต่อยอดนี้ไปปรับประยุกต์ใช้ดูครับ มาม่ากับปลากระป๋อง
ปล. แถมอีกนิดครับ น้องสาวผมไม่ใช่ขายไม่เก่งนะครับ จากที่ว่าเสารสขายไม่ได้ราคาและออร์เดอร์น้อย แต่ที่เธอนำไปขายแล้วผลตอบรับดีคือ “ผักสดถุง 20 บาท” … บางวันก็เป็นแตงกวา บางวันก็เป็นถั่วผลู บางวันก็เป็นผักชนิดต่าง ฯลฯ ตามแต่ว่าช่วงนั้นในสวนปลูกอะไร … ประเด็นนี้น่าจะเกี่ยวโยงไปถึงเรื่องสถานที่ขายและกลุ่มลูกค้าได้ครับ – ติดตามเรื่องราวของผมได้ในเพจนี้ครับ… เพจคุยเรื่อยเปื่อยครับ Creativeshooter.com
จากความคิดเห็น
เรื่องนี้ต้องมองหลายๆด้าน

สำหรับเรื่องนี้ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ทำให้เราได้เห็นอะไรหลายๆอย่าง ใครที่กำลังอยากจะขายของก็ลองดุไว้เป็นไอเดียว่าเราจะเพิ่มมูลค่า และกำไรจากสินค้าของเราได้อย่างไรบ้าง นอกจากสินค้าจะต้องดี กำลังซื้อ และแพคเกจจิ้งก็สำคัญไม่แพ้กัน
ขอขอบคุณที่มาจาก : มาม่ากับปลากระป๋อง