วันที่ 3 ส.ค.64 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติจ่ายเงินเยียวยาผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ จากคำสั่งข้อกำหนดออกตามความมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 30 ขยายจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) เป็น 29 จังหวัด หรือเพิ่มจากเดิมอีก 16 จังหวัด จำนวน 1 เดือน
นอกจากนี้ยังเยียวยา 13 จังหวัดเดิมอีก 1 เดือน รวมเป็น 2 เดือน (ก.ค.-ส.ค.) แหล่งเงินงบประมาณจากพ.ร.ก.กู้เงิน เพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท รวม60,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 30,000 ล้านบาท
สำหรับคำสั่งขยายพื้นที่จังหวัดสีแดงเข้ม เดิมมี 13 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา
ขณะที่ 16 จังหวัดที่เพิ่มใหม่ คือ กาญจนบุรี ตาก นครนายก นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง รวมมีพื้นที่สีแดงเข้มทั้งหมด 29 จังหวัด
โดยการสนับสนุนเงินช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ ยังคงเป็นไปตามระบบเดิมที่วางไว้คือ เยียวยาวแรงงานและผู้ประกอบการใน 9 กลุ่มอาชีพธุรกิจ ในพื้นที่ที่เพิ่่มขึ้นอีก 16 จังหวัด แบ่งเป็นการช่วยเหลือแรงงานในระบบประกันสังคม ม.33 ม.39 และม.40
ที่เป็นแรงงานนอกระบบกำหนดให้ลงทะเบียนเป็นแรงงานตามระบบประกันสังคม เพื่อรับความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ที่รัฐบาลได้วางไว้[ads]
นอกจากนี้ยังเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มอาชีพผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีอายุเกิน 65 ปี ในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม ที่ไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ โดยมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมสำรวจฐานข้อมูลต่อไป
สรุปคือมี16 จังหวัดที่เพิ่มใหม่ คือ กาญจนบุรี ตาก นครนายก นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง รวมมีพื้นที่สีแดงเข้มทั้งหมด 29 จังหวัด
เรียบเรียงโดย: tkvariety