จากกรณีเพจเฟซบุ๊ก วันนี้กินไรดีวะ ได้โพสต์ภาพกุ้งที่บริเวณหัวมีมันเป็นสีเขียว ต่างจากกุ้งตัวอื่นที่เคยรับประทานกันอย่างเห็นได้ชัด จึงโพสต์ภาพผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และการที่หัวกุ้งเป็นสีเขียวแบบนี้จะยังคงรับประทานได้ต่อหรือไม่ เพจเฟซบุ๊กโพสต์ข้อความระบุว่า "กินต่อ หรือ พอแค่นี้ ฝั่งซ้ายนี่คือ กุ้งมรกตเหรอ สีเขียวมันคืออะไรนะ" ซึ่งในภาพมีกุ้งสองตัว ตัวฝั่งซ้ายที่หัวมีลักษณะเป็นสีเขียว ส่วนฝั่งขวามีลักษณะเป็นสีส้มเหมือนกับมันกุ้งทั่ว ๆ ไป
เฟซบุ๊ก เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว เคยให้ข้อมูลไว้เมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 โดยระบุสาเหตุของปรากฏการณ์ "กุ้งหัวเขียว" ไว้ว่า.. คาดว่าหลายๆคนอาจจะเคยเจอปรากฏการณ์ #กุ้งหัวเขียว เวลาที่ประกอบอาหารออกมาแล้วทำให้มีความวิตกกังวลถึง #ความอันตรายของสีเขียว ที่เห็นนั้น ซึ่งแอดก็ได้ลองค้นดูข้อมูลต่างๆประกอบและสรุปออกมาได้ดังนี้
สาเหตุแรก – อาจจะเกิดจากส่วนต่อมสร้างน้ำย่อย (hepatopancreas) ในช่วงช่องอก ซึ่งก็ถ้าเรียกตามภาษาชาวบ้านก็คือ #มันกุ้งที่อยู่ตรงคอพับตรงหัว ที่ติดกับตัว (ซึ่งตัวกุ้งในทางชีววิทยานั้นก็คือหางนั่นเอง) หลังจากที่เค้ากินสาหร่ายที่มีสีเขียวจนอิ่มเข้าไป จนทำให้มันกุ้งที่มีสีเหลืองแกมแดงอยู่เดิมนั้นมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ในสาหร่ายเข้าไปปะปนด้วย
ในกรณีนี้แม้เราจะทำกุ้งให้สุกหมด สีเขียวนั้นก็จะยังคงเขียวอยู่ เนื่องจากคลอโรฟิลล์ที่แฝงในหัวกุ้งนั้นจะมีสีเข้มมาก เมื่อได้รับความร้อนและละลายออกมาในไขมันในหัวกุ้งนั้นๆนะครับ
สาเหตุที่สอง – เป็นไข่กุ้งครับ โดยเฉพาะกุ้งแชบ๊วยที่มีไข่สีเขียว ในกรณีนี้สีเขียวของไข่กุ้งเมื่อได้รับความร้อนแล้วจะสุกเป็นสีส้มแดงตามปกติ โดยที่ไข่กุ้งนั้นจะเรียงไปขนานกับขี้กุ้งในส่วนหาง และลามไปถึงท้องกุ้ง (ก็หัวนั่นแหละครับ)
โดยที่ส่วนหางนั้นจะมีความหนาน้อยกว่าส่วนหัวกุ้ง ก็จะทำให้ไข่กุ้งนั้นแปลงร่างเป็นสีแดงได้ ในขณะที่ส่วนหัวกุ้งที่มีความหนามากกว่า อาจจะทำให้กุ้งสุกไม่ถึงเนื้อใน (โดยเฉพาะการเผา) ที่ใช้ไฟลามเรียงแผ่วๆแค่ภายนอกที่หัวกุ้ง จนทำให้ไข่กุ้งที่มีสีเขียวนั้น ยังไม่ทันเปลี่ยนเป็นสีแดงได้นะครับ[ads]
ซึ่งจากรูปที่ทางหลังไมค์ส่งมาถามนั้น แอดคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุแรกมากกว่าน่ะครับ เพราะดูลักษณะของหย่อมสีเขียวนั้นเหมือนเป็นหย่อมที่แตกออกมา มากกว่าเกาะรวมกันเป็นกลุ่มแบบไข่กุ้งน่ะครับ ซึ่งถ้าเกิดจากสาเหตุทั้งสองอย่างนี้แอดก็บอกได้เลยครับ ว่าสามารถทานได้อย่างปลอดภัยนะครับ
แบบนี้กินได้จ้า
ลักษณะของหย่อมสีเขียวนั้นเหมือนเป็นหย่อมที่แตกออกมา มากกว่าเกาะรวมกันเป็นกลุ่มแบบไข่กุ้ง สรุปแล้วเป็นไข่กุ้ง โดยเฉพาะกุ้งแชบ๊วยที่มีไข่สีเขียว ในกรณีนี้สีเขียวของไข่กุ้งเมื่อได้รับความร้อนแล้วจะสุกเป็นสีส้มแดงตามปกติ โดยที่ไข่กุ้งนั้นจะเรียงไปขนานกับขี้กุ้งในส่วนหาง และลามไปถึงท้องกุ้ง
ขอขอบคุณที่มาจาก: เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว, วันนี้กินไรดีวะ